blog cover

วัยทองควรดูแลตัวเองอย่างไร ทำให้แข็งแรงและแฮปปี้ในทุกวัน

2023-12-12vitalia-wellness-center

ช่วงเวลาวัยทอง เป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงต้องก้าวข้ามผ่านความท้าทายไปอีกขั้น ซึ่งผู้ที่กำลังเดินทางผ่านช่วงวัยนี้ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งร่างกายและสภาพจิตใจ และเพื่อที่จะทำให้คุณนั้นก้าวผ่านข้ามพ้นวัยทองไปได้อย่างมีความสุข แข็งแรง และมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี วันนี้เราจะมาแนะนำกันว่า วัยทองควรดูแลตัวเองอย่างไร มาเปลี่ยนวัยที่หลายคนมองว่ามีความหมองหม่นเพราะฮอร์โมนเปลี่ยน ให้กลายเป็นวัยที่สดใสที่สุดอีกช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตกัน

มาทำความรู้จักกันก่อนว่า “วัยทอง” คืออะไร

วัยทองหรืออีกชื่อหนึ่ง คือ วัยหมดประจำเดือน (Menopause) คือการที่ประจำเดือนของคุณหยุดและหายไปเป็นเวลา 12 เดือนติดต่อกัน คุณผู้หญิงอาจพบว่าตัวเองมีการเปลี่ยนแปลงในรอบเดือน มีอาการร้อนวูบวาบ หรืออาการอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ภาวะเปลี่ยนผ่านของวัยหมดประจำเดือน หรือช่วงใกล้หมดประจำเดือน”

อาการวัยทองเป็นนานแค่ไหน


อาการ วัยทอง เป็นนานแค่ไหน

การเปลี่ยนแปลงของวัยหมดประจำเดือน มักจะเริ่มต้นระหว่างช่วงอายุ 45 - 55 ปี โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 7 ปี แต่ก็อาจยาวนานถึง 14 ปีได้ ระยะเวลามากน้อยนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์หลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ ความเครียด อายุที่เริ่มต้นของวัยหมดประจำเดือน เชื้อชาติและอื่น ๆ ในช่วงใกล้หมดประจำเดือน การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นฮอร์โมน 2 ชนิดที่สร้างจากรังไข่

วัยทองมีกี่ระยะ


อาการวัยทองแบ่งออกเป็นกี่ระยะ

ระยะของวัยหมดประจำเดือน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

1. วัยใกล้หมดประจำเดือน (Perimenopause)
2. วัยหมดประจำเดือน (Menopause)
3. วัยหลังหมดประจำเดือน (Postmenopause)

การทำงานรังไข่จะเริ่มฝ่อ ซึ่งทำให้การผลิตฮอร์โมนที่กระตุ้นรอบประจำเดือนลดลง เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง นอกจากนี้เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น จำนวนไข่ในรังไข่ก็จะลดลงตามธรรมชาติอยู่แล้ว ส่งผลทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง

การเปลี่ยนจากวัยใกล้หมดประจำเดือน ไปเป็นวัยหมดประจำเดือน และหลังวัยหมดประจำเดือนมักใช้เวลา 7 ปีหรือนานกว่านั้น ซึ่งการทำความเข้าใจระยะต่าง ๆ จะทำให้คุณรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย และหาวิธีจัดการกับอาการของคุณให้ดีขึ้น

1. วัยก่อนหมดประจำเดือน

วัยก่อนหมดประจำเดือน จะเกิดขึ้นประมาณ 3 – 5 ปีก่อนวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในช่วงอายุ 40 กลางไปจนถึงปลาย และไม่ค่อยมีอาการก่อนอายุ 40 ปี ในระหว่างระยะนี้ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนของคุณเริ่มผันผวน คุณอาจเริ่มพบว่าประจำเดือนของตัวเองมาไม่ปกติ และในระหว่างระยะนี้ คุณยังสามารถตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นการคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญ

2. วัยหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือน คือ การไม่มีประจำเดือนมาเป็นเวลา 12 เดือนติดต่อกัน โดยไม่มีสาเหตุอื่น เช่น การเจ็บป่วย การทานยา หรือการตั้งครรภ์ เมื่อคุณเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน คุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกต่อไป อายุเฉลี่ยของวัยหมดประจำเดือนคือ 51 ปี แต่อายุอาจแตกต่างกันมาก บางคนเข้าสู่ระยะนี้ตอนอายุ 40 กลาง ๆ และบางคนก็เข้าสู่ตอนวัย 50 กลาง ๆ

3. หลังวัยหมดประจำเดือน

ระยะหลังวัยหมดประจำเดือน คือ การสิ้นสุดวัยเจริญพันธุ์ของคุณ รังไข่จะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในระดับต่ำ แต่คุณก็จะไม่มีการตกไข่หรือมีประจำเดือนอีกต่อไป ผู้หญิงในระยะนี้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคหัวใจ และโรคกระดูกพรุน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง

อาการ วัยทอง


วัยทอง มีอาการอย่างไร

วัยทองควรดูแลตัวเองอย่างไร สิ่งที่คุณสามารถทำให้กับตัวเองได้ก็คือ การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาการวัยทองล่วงหน้า เพื่อที่คุณจะได้ปรับใช้วิธีการต่าง ๆ ในการดูแลตัวเอง ทำให้สุขภาพของคุณยังคงแข็งแรงอยู่เสมอและสุขภาพใจก็ยังคงมีความสดชื่นแจ่มใส

นอนไม่หลับ

เป็นอาการที่พบบ่อยในช่วงวัยหมดประจำเดือน เกิดจากความผันผวนของฮอร์โมน โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง อาจทำให้นอนหลับยากมากขึ้น

ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในตอนกลางคืน

จัดเป็นอาการสำคัญของวัยหมดประจำเดือน ผู้ที่กำลังเข้าสู่ภาวะวัยทองมักจะมีอาการร้อนวูบในร่างกาย เหงื่อออกมาก ซึ่งอาจรบกวนการนอนหลับ และการทำกิจกรรมประจำวันได้

ใจสั่น

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน อาจส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือใจสั่น แม้ว่าปกติแล้วจะไม่เป็นอันตราย แต่อาการใจสั่นอาจทำให้คุณกังวลได้

ปวดกระดูกและข้อ

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือน อาจทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง และมีอาการปวดข้อได้ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ เช่น โรคกระดูกพรุน

การตอบสนองต่อความรู้สึกทางเพศน้อยลง

ความผันผวนของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อในช่องคลอด ทำให้เกิดความแห้งกร้าน ไม่มีน้ำหล่อลื่นช่องคลอด และอาจลดความต้องการทางเพศลดลง

อารมณ์ที่เปลี่ยนไป

ผู้หญิงบางคนอาจมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจแตกต่างกันไป บางคนอาจมีอาการและมีอารมณ์ที่มีความรู้สึกรุนแรงมาก

คุณเข้าข่ายวัยทองหรือยัง

วิธีดูแลตัวเองช่วงวัยทอง


10 วิธี วัยทองควรดูแลตัวเองอย่างไร

เราไม่สามารถที่จะห้ามการเกิดอาการวัยทองได้ แต่เราสามารถที่จะเรียนรู้อยู่กับอาการนี้ได้อย่างมีความสุข และใช้ชีวิตได้อย่างปกติต่อไป หลังจากที่คุณได้ศึกษาความเป็นมาของการวัยทองแล้ว

แล้ว… วัยทองควรดูแลตัวเองอย่างไร ถ้าคุณดูแลตัวเองดีผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลถึงคุณน้อย ทำให้คุณมีสุขภาพร่างกายที่ยังคงแข็งแรงอยู่ มีจิตใจที่สดชื่นเบิกบาน มีกิจกรรมสนุก ๆ ทำ พร้อมใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในทุกวัน

พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพเต็มอิ่มเป็นหนึ่งในสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดเลย ส่วน หนึ่ง ของผู้หญิงวัยทองที่นอนไม่หลับเพราะว่ามีอาการร้อนและเหงื่อออก ทำให้เหนียวตัวนอนไม่สบาย ดังนั้นขอแนะนำให้คุณปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสมกับการนอนหลับมากที่สุด หรืออาจจะเลือกสวมใส่ชุดนอนที่มีความโปร่งเบาสบาย ร่วมกับการฝึกเทคนิคผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึก ๆ หรือการทำสมาธิ เพื่อทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น และช่วยลดความเครียด

ออกกำลังกายให้เหมาะสม

การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยควบคุมน้ำหนัก ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และยังเป็นอีกหนึ่งวิธีในการคงคุณภาพร่างกายและจิตใจของตนเองในช่วงวัยทองได้เป็นอย่างดี การออกกำลังกายในปัจจุบันนี้มีหลายแบบ และมีอุปกรณ์ที่สามารถซื้อมาออกกำลังกายที่บ้านได้อีกด้วย หรือคุณอาจจะเริ่มต้นจากกิจกรรมสนุก ๆ เช่น การเดิน ว่ายน้ำ หรือโยคะ ขอแนะนำให้ตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์

ตรวจร่างกาย

การตรวจสุขภาพเป็นประจำ ถือเป็นสิ่งสำคัญในช่วงวัยหมดประจำเดือน สำหรับขั้นตอนการตรวจร่างกายนี้ เช่น การเช็กความดันโลหิต ตรวจระดับคอเลสเตอรอล และตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ตรวจภายใน

ถึงแม้ว่าคุณจะหมดวัยเจริญพันธุ์ไปแล้ว แต่การตรวจสุขภาพภายใน ก็ยังคงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอยู่มาก ๆ เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ เพราะยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีความเสี่ยง ซึ่งการตรวจภายในเป็นประจำนี้จะทำให้สามารถคัดกรองโรคได้ดีขึ้น และวางแผนแนวทางการรักษาได้ทันท่วงทีในกรณีเกิดโรค

รับประทานวิตามินสำหรับวัยทองอย่างเหมาะสม

เพื่อรักษาและดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองช่วงวัยหมดประจำเดือน การทานอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสุขภาพของคุณได้ อาหารเสริมที่เหมาะกับคนช่วงวัยนี้ เช่น

  • แคลเซียม
  • วิตามินดี
  • แมกนีเซียม

ใส่ใจรับประทานอาหารที่ดีสำหรับวัยทอง

แนะนำอาหารประเภทโปรตีน และอาหารที่มีกรดอมิโนอาร์จินีน ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตของเซลล์ และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เช่น

  • งาดำ
  • ปลาทะเล

สมุนไพรที่แนะนำสำหรับวัยทอง

ประเทศไทยของเรา ขึ้นชื่อในเรื่องของการมีพืชผักสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพร่างกายอยู่แล้ว ดังนั้นจึงหาทานได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องเลือกทานให้เหมาะสม สำหรับผู้หญิงวัยนี้มีความเสี่ยงเรื่องกระดูกบาง ดังนั้นขอแนะนำให้รับประทานสมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง เช่น

  • ยอดแค
  • ยอดสะเดา
  • ผักคะน้า
  • ตำลึง

ทำจิตใจให้แจ่มใส

จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว นอกจากจะดูแลบำรุงรักษาสุขภาพร่างกายให้มีความแข็งแรงแล้ว ความสำคัญของสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งที่ห้ามมองข้ามอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะในช่วงวัยที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงเช่นนี้ สามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกได้มากเลยทีเดียว ฝึกสติ นั่งสมาธิ หรือทำกิจกรรมที่ทำให้คุณมีความสุข เพื่อส่งเสริมความสุขให้กับจิตใจ

รับประทานอาหารประเภทแคลเซียมเพิ่มขึ้น

การรักษาสุขภาพกระดูกเป็นสิ่งสำคัญในช่วงวัยหมดประจำเดือน เพื่อเป็นการรักษาความแข็งแรงของกระดูก คุณควรทานอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว และอาหารเสริม

ลดอาหารประเภทแป้ง

การเลือกทานอาหารมีบทบาทสำคัญในการควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะในช่วงวัยหมดประจำเดือน การลดอาหารประเภทแป้งสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยควบคุมน้ำหนักได้

วิธีดูแลตัวเองช่วงวัยทอง


อาการ วัยทอง รักษาได้อย่างไรบ้าง

คุณสามารถวางแผนแนวทางการรักษาอาการวัยทองได้เพิ่มเติม นอกเหนือไปจากคำแนะนำในข้างต้นที่เราได้นำมาฝาก ก็ยังมีวิธีรักษาอีกหลายวิธี ซึ่งคำแนะนำของเราคือ ให้คุณพูดคุยปรึกษาปัญหากับคุณหมอเสียก่อน เพราะว่าอาการวัยทองของแต่ละคนมีมากน้อยแตกต่างกันไป

เช่น บางคนอาจจะมีอารมณ์ที่แปรปรวนมาก ไม่ปกติ รู้สึกดิ่งหรือหงุดหงิดอย่างหนัก หรือบางคนอาจมีอาการช่องคลอดแห้ง และรู้สึกไม่สบายตัวอย่างรุนแรง ดังนั้นการนำปัญหาเหล่านี้ไปพูดคุยปรึกษากับคุณหมอ จะได้รับคำแนะนำและการวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุดมากกว่า

อีกทั้งยังควรเลือกทีมแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับศาสตร์ชะลอวัย หรือ ศาสตร์ในการดูแลผู้หญิงวัยทองโดยเฉพาะ เช่น เลือกให้ Vitalia Wellness Clinic เป็นผู้ดูแลสุขภาพของคุณ

วิธีดูแลตัวเองช่วงวัยทอง


สรุป

การเผชิญหน้ากับวัยทองเป็นเรื่องที่มีความท้าทายจริง ๆ แต่ถ้าคุณทำความรู้จักกับอาการวัยทองล่วงหน้า และเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำให้คุณนำไปวางแผนใช้ในการดูแลจัดการปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ดีขึ้น และสามารถอยู่กับอาการวัยทองได้อย่างกลมกลืน ก้าวผ่านช่วงวัยนี้ไปได้อย่างแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ

วิธีดูแลตัวเองช่วงวัยทอง


Vitalia Wellness Clinic ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย

Vitalia Wellness Clinic คลินิกสุขภาพและความงาม ที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลสุขภาพของผู้หญิงวัยทอง ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญความรู้เฉพาะทางเวชศาสตร์ชะลอวัย พร้อมวางแผนดูแลสุขภาพภายในและภายนอก มาพร้อมทีมงานที่มากประสบการณ์พร้อมดูแลคุณอย่างเต็มที่ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงวัยทอง และนำไปวางแผนปรับวิถีการใช้ชีวิตของผู้หญิงวัยทองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากที่สุด

ช่องทางติดต่อ

จองคิวปรึกษาแพทย์

อ้างอิงจาก

All rights Reserved © Vitalia Wellness Clinic, 2023Privacy Policy